4 เม.ย. 2557

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ


 


ในยุคที่ภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาท กับการดำเนินชีวิตของคนไทยมากขึ้น เชื่อว่า พ่อแม่ทุกๆ คน อยากให้ลูกใช้ภาษาอังกฤษได้เป็น และใช้ได้ดี แต่การจะพัฒนาทักษะทางภาษาให้ลูกอย่างได้ผลนั้น หลายๆ ท่านอาจมีคำถามว่า แล้วจะให้ลูกเริ่มเรียนเมื่อไรถึงจะใช้ได้ดี และใช้ได้เป็น วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จากสถาบันสอนภาษาพิงกุมาฝากเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ได้อ่านกัน
              “เด็กวัยนี้เรียนรู้ด้วยวิธี การซึมซับจากตัวแบบ ดังนั้น ถ้าครูพูดภาษาอังกฤษกับเด็กในชั้นเรียนสม่ำเสมอ หรือคุณพ่อคุณแม่พูดภาษาอังกฤษที่บ้านเป็นประจำ เด็กก็จะเรียนรู้และมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีได้ไม่ยาก”
              “เนื่องจากเรากำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ่อแม่ผู้ปกครองควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษตามวัยที่เหมาะสม และตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน แต่ไม่ควรคาดหวังการเรียนรู้ของเด็กสูงเกินไป เพียงแต่ให้เด็กได้ทำความรู้จักกับภาษา เกิดความชอบ ความคุ้นเคย เรียนอย่างสนุกสนาน และอยากไปโรงเรียน เท่านี้ก็เพียงพอสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว”
ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล  ตั้งแต่เอบีซี มีแบบฝึกคัดพยัญชนะ A-Z เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อักษรภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำศัพท์ที่ควรเรียนรู้เป็นเบื้องต้น การเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล ควรเน้นที่คำศัพท์พื้นฐาน และประโยคง่ายๆ ก็พอครับ สังเกตจากการเรียนรู้ภาษาของเด็กๆจะเริ่มจากคำศัพท์ก่อนเป็นเบื้องต้น ตามด้วยวลีง่ายๆ และประโยคสมบูรณ์ท้ายที่สุด
การส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษา จากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อน เพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐานทางภาษา กล่าวคือ เมื่อฟังแล้วก็ย่อมต้องพูดสนทนาโต้ตอบได้ การเรียนภาษาของเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ หรือตามหลักไวยากรณ์ แต่จะเป็นการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือเป็นการสอนแบบธรรมชาติ
ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา
1. ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Austistic Theory) ทฤษฎีนี้ถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็กเกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องจากความพึงพอใจที่ ได้กระทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mower) เชื่อว่า ความสามารถในการฟัง และความเพลิดเพลินกับการได้ยินเสียงของผู้อื่นและตนเองเป็นสิ่งสำคัญต่อ พัฒนาการทางภาษา
2. ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory) เลวิส (Lawis) ได้ศึกษาและ
เชื่อ ว่า พัฒนาการทางภาษานั้นเกิดจากการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดจากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วงความสนใจของเด็กนั้นสั้นมากเพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้า ซ้ำ ๆ กัน การศึกษากระบวนการในการเลียนแบบภาษาพูดของเด็กพบว่า จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเสียงของเด็กในระยะเล่นเสียงหรือใน ระยะที่เด็กกำลังเรียนรู้การออกเสียง
 3.  ทฤษฎีเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลักทฤษฎีการ เรียนรู้ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลต์ (Rhiengold) และคณะได้ศึกษาพบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อได้รางวัล หรือได้รับการเสริมแรง
                         4.  ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception) ลิเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วย การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง และพูดซ้ำกับตัวเอง หรือหัดเปล่งเสียง
โดยอาศัยการอ่านริมฝีปาก แล้วจึงเรียนรู้คำ
                         5.  ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง (Babble Buck) ซึ่งธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นผู้คิดโดยอธิบายว่า เมื่อเด็กกำลังเล่นเสียงอยู่นั้น เผอิญมีเสียงบางเสียงไปคล้ายกับเสียงที่มีความหมาย ในภาษาพูดของพ่อแม่ พ่อแม่จึงให้การเสริมแรงทันที ด้วยวิธีนี้จึงทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษา
                         6.  ทฤษฎีชีววิทยา (Biological Theory) เล็นเบิร์ก (Lenneberg) เชื่อว่า พัฒนาการทางภาษามีพื้นฐานทางชีววิทยาเป็นสำคัญ กระบวนการที่คนพูดได้ขึ้นอยู่กับอวัยวะในการเปล่งเสียง เด็กจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ และพูดได้ตามลำดับ
                         7.  ทฤษฎีการให้รางวัลของพ่อแม่ (Mother Reward Theory) ดอลลาร์ด (Dollard) และมิลเลอร์ (Miller) เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ โดยย้ำเกี่ยวกับบทบาทของแม่ในการพัฒนาภาษาของเด็กว่า ภาษาที่แม่ใช้ในการเลี้ยงดูเพื่อเสนอความต้องการของลูกนั้น เป็นอิทธิพลที่ทำให้เกิดภาษาพูดแก่ลูก

เด็กสนุกกับการเรียนรู้ และพัฒนาความฉลาดที่หลากหลายตามแนวคิดของทฤษฎีพหุปัญญา เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการสอน กับครู กับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนตลอดเวลา ไม่มีการท่องศัพท์ ไม่มีความเครียด มีแต่ความสนุกสนาน




29 มี.ค. 2557

ปิดเทอม กิจกรรมวันหยุด ให้ลูกไม่เบื่อ

เด็ก ๆ มักมีสมาธิกับการทำกิจกรรมค่อนข้างสั้น พวกเขาจะเบื่ออะไรง่าย และสิ่งท้าทายสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่คือ ต้องให้ความบันเทิงกับลูกไปพร้อมกับให้ความรู้อยู่ตลอดเวลา ลองมาดูวิธีที่ทำให้ลูกของคุณมีสมาธิกับบางกิจกรรมในวันที่ลูกไม่ได้ไป โรงเรียนกัน

กุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณไม่ได้ยินคำที่น่ากลัวอย่างคำว่า “เบื่อ” ออกจากปากลูกนั้นคือ คุณต้องทำให้ทั้งจิตใจและร่างกายของลูกจดจ่ออยู่กับสิ่งใหม่ ๆ เปิดหูเปิดตาและเปิดจินตนาการของลูกให้ได้เห็นและทำสิ่งใหม่ ๆ ให้ได้เรียนรู้สถานการณ์ ประสบการณ์ และไอเดียใหม่ ๆ ฟังดูแล้วเหมือนคุณต้องวางแผนเพื่อทำให้ลูกไม่เบื่อเยอะแยะมากมาย ต้องมีค่าใช้จ่าย และใช้เวลา คุณคิดว่าอย่างนั้นใช่หรือไม่? ลองคิดใหม่อีกที เพราะจริง ๆ แล้วมีหลากหลายวิธีที่ให้ลูกคุณได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยที่มีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย และที่สำคัญการวางแผนก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง
เด็กในวัยประถมต้น
เด็กที่อายุต่ำกว่า 7 ขวบจะไม่ค่อยเบื่อง่ายเนื่องจากเป็นวัยที่ชอบออกไปสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวว่ามันทำงานอย่างไร แต่เมื่อเขาเริ่มไปโรงเรียน เขาจะคุ้นเคยกับกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำทุกวันที่โรงเรียน และเมื่อต้องหยุดเรียนที่มากกว่าสองถึงสามวัน พวกเขาจะไม่ค่อยรู้ว่าต้องทำอะไรด้วยตัวเอง นอกเหนือจากกิจกรรมที่ทางโรงเรียนกำหนดให้ ฉันรู้ซึ้งถึงความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในบ้านเมื่อเด็ก ๆ เกิดอาการเบื่อขึ้นมา ดังนั้น ฉันจะเล่าประสบการณ์ที่มีประโยชน์สักสองสามเรื่องที่ช่วยฉันได้เมื่อแมลง เบื่อมาเยือนบ้านของฉัน…
ให้ลูกเสริมความรู้ในช่วงซัมเมอร์ โรงเรียนส่วนใหญ่จะมีช่วงหยุดภาคเรียน นี่เป็นเวลาดีที่จะช่วยเสริมความรู้ให้กับลูกของคุณเพื่อให้เขาได้เปลี่ยน บรรยากาศจากห้องเรียนที่น่าเบื่อในโรงเรียนบ้าง เช่น เรียนทำอาหาร เรียนการแสดง เรียนทำเครื่องปั้นดินเผา เรียนตกปลา เรียนถ่ายรูป หรือเรียนเขียนหนังสือ ลองหาเวลาสัก 1-2 วันต่อสัปดาห์เพื่อทำกิจกรรมพิเศษสำหรับครอบครัว กิจกรรมเหล่านี้อาจเป็นการว่ายน้ำด้วยกัน ไปสวนสัตว์ หรือกิจกรรมอื่น ๆ (ที่ถูกหรือไม่มีค่าใช้จ่ายเลย) เล่นกับเพื่อน ๆ หรือไปปิกนิคกันที่สวนสาธารณะ สอนให้ลูกเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เช่น สอนเย็บผ้า สอนถักโครเช สอนให้ทำงานไม้ หรืออะไรก็ตามที่พวกเขาสนใจ หากคุณไม่มีทักษะเรื่องพวกนี้ ลองถามผู้ที่มีประสบการณ์มาก่อน หรือจะพาลูกไปวัดก็เป็นเรื่องดีไม่ใช่น้อย ลองให้ลูกคุณเป็นตากล้องและให้เขาบันทึกภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ของครอบครัวในวันนั้น ๆ ดูก็ได้
ให้ลูกทำงานบ้านเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ค่าขนมมากขึ้น
คุณอาจพาลูกปลูกผักสวนครัวเล็ก ๆ และให้เขามีหน้าที่รับผิดชอบดูแลสวน ให้ลูกที่โตหน่อยดูแลห้องนี่งเล่นหรือห้องน้ำในบ้านของคุณ
คุณมีรูปของครอบครัวที่เก่าเก็บหรือไม่? ให้ลูกคุณที่โตหน่อยช่วยจัดเรียงอัลบัมรูปขึ้นบนชั้นวาง คุณอาจช่วยคัดแยกรูปที่ไม่ชัดหรือรูปที่หาที่มาที่ไปไม่ได้ออกก่อน แล้วให้ลูกช่วยจัดขึ้นบนชั้น ใช้เวลาอยู่ด้วยกันเหมือนคนในสมัยก่อนบ้าง นั่นคือ ไม่มีทีวี ไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือไม่ใช้เครื่องอำนวยความสะดวก เป็นต้น ร่วมกันเล่นเกม เช่น หมากรุก เล่นซ่อนหา เล่นเกมงูกินหาง เล่นเกมคำศัพท์ เป็นต้น
จัดให้มีการแสดงความสามารถเล็ก ๆ น้อย ๆ ในบ้าน คุณอาจเอาผ้าม่านที่ไม่ใช้แล้วให้ลูกฝึกแต่งตัวและแสดงเป็นตัวละคร และให้คุณกับสามี/ภรรยาของคุณเป็นผู้ดูละครเวทีหลังอาหารเย็น หรือใช้เวลาสองถึงสามชั่วโมงเป็นอาสาสมัครในชุมชนของคุณ คุณอาจทำเรื่องง่าย ๆ เช่น พาคนแก่ไปเดินเล่น ไปให้อาหารที่บ้านพักคนชรา
นอกจากนี้แล้ว คุณยังสามารถค้นหาไอเดียใหม่ ๆ ที่ใช้ทำกับลูกเพื่อไม่ให้ลูกเบื่อได้ทางอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นไอเดียการทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือเล่นทายปัญหา ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้คุ้มค่า เมื่อได้รายการกิจกรรมแล้ว ให้ลูกคุณเลือก 2-3 กิจกรรมในแต่ละสัปดาห์

ช่วยลูกของคุณ ตั้งเป้าหมายการเรียน

ช่วยลูกของคุณ ตั้งเป้าหมายการเรียน


การศึกษาของลูกคุณจะต้องเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญและมาเป็นอันดับต้น ๆ สำหรับคุณเสมอ เช่นเดียวกับพ่อแม่ทั่วไปที่ต้องการสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก ๆ และอยากให้ลูก ๆ นั้นเรียนหรือทำกิจกรรมได้ดีที่โรงเรียน เพราะนั่นหมายความว่าเขาจะดำเนินชีวิตของเขาได้ดีด้วย
การบังคับให้ลูกของคุณเรียนหนังสือให้ดีเยี่ยมนั้นไม่ใช่การกระทำที่ ถูกต้อง ในทางกลับกัน เขาอาจเกิดความโกรธ ที่ต้องไปโรงเรียนหรือมีความกลัวบางอย่างขึ้นมาได้ นอกจากนี้ เขาอาจถอนความตั้งใจหรือเสียความตั้งใจหากโดนตำหนิอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้น คุณควรกระตุ้นลูกของคุณให้รักการเรียนโดยการให้กำลังใจและแนะนำการเรียน หนังสือที่ดี และการช่วยลูกคุณ ตั้งเป้าหมายการเรียน เป็นสิ่งที่ดีมากเช่นกัน
เป้าหมายในการศึกษาจะเป็นไปได้ ก็ต่อเมื่อลูกของคุณต้องการที่จะทำให้สำเร็จจริง ๆ
หากเขาได้รับแรงบันดาลใจในการที่จะเรียนให้เก่งก็จะช่วยให้เขาสามารถ เรียนได้เร็วขึ้น ช่วยจัดมุมสบาย ๆ โดยมีโคมไฟ โต๊ะ เก้าอี้ พร้อมทั้งอุปกรณ์ในการเรียนที่จำเป็น เช่น ดิกชันนารี สารานุกรม หรือหนังสืออ้างอิงอื่น ๆ ให้เขา นอกจากนี้คุณอาจจะนำของว่างหรือน้ำผลไม้ที่ช่วยให้เขาสดชื่นเสิร์ฟให้เขา ด้วย
ตั้งเป้าหมายที่สามารถทำได้และอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
ในการตั้งเป้าหมาย อย่าลืมที่จะแนะนำลูกของคุณให้ ตั้งเป้าหมายการเรียน ที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและสามารถทำได้จริง หากลูกคุณอ่อนในบางวิชาที่สอนในโรงเรียน อาจจะดีที่กว่าถ้าเขาตั้งเป้าหมายวิชานั้นเป็น B แทนที่จะตั้งเป็น A ในทันที การทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้เขาสามารถไปถึงเป้าหมายได้ แต่มันยังจะป้องกันไม่ให้เขาเกิดภาวะกดดันกับวิชานั้น ๆ  มากจนเกินไปจนอาจนำไปสู่การยอมแพ้ในวิชานั้น ๆ ได้ อย่าปล่อยให้เขามองข้ามในวิชาที่เขาเก่งอยู่แล้ว แต่ให้ช่วยเขาตั้งเป้าหมายให้สูงสำหรับวิชาที่เขาเก่ง และพูดคุยกับเขาเพื่อนำเขาไปสู่การมีส่วนร่วมในสมาคมของวิชานั้น ๆ หรือมีส่วนร่วมในการแข่งขันต่าง ๆ ในวิชาที่เขาถนัด

มีส่วนร่วม
มีส่วนร่วมในการ ตั้งเป้าหมายการเรียน ของลูกคุณโดยเสนอช่วยสอนเขาในบางวิชาที่คุณเองมีความสามารถเพียงพอ หากคุณชอบวิชาคณิตศาสตร์ สอนลูกคุณให้รู้จักเทคนิคต่าง ๆ และวิธีการที่จะทำให้โจทย์นั้นแก้ง่ายขึ้น ลูกของคุณจะมีความสนใจอย่างต่อเนื่องหากมีคนคอยให้คำแนะนำเขา
ช่วยลูกของคุณ
เมื่อลูกของคุณได้รับแรงบันดาลใจและเริ่มที่จะบรรลุเป้าหมายของเขาแล้ว ช่วยเขาในการทำตารางแสดงสิ่งที่เขาจำเป็นต้องทำต่อไป นอกจากการทำรายการจุดมุ่งหมายของเขาแล้ว ควรช่วยกันทำกำหนดเวลาของเป้าหมายต่าง ๆ ด้วย บางเป้าหมายอาจใช้เวลาเพียงหนึ่งภาคการเรียน แต่บางเป้าหมายอาจต้องใช้เวลาทั้งปีที่อยู่ในโรงเรียน การเตือนเขาเรื่อย ๆ ในสิ่งที่เขาจะต้องบรรลุเป้าหมายนั้นไม่เพียงแต่จะช่วยให้เขาทำตามกำหนดเวลา แต่ยังจะช่วยให้เขารู้สึกภาคภูมิใจเมื่อเห็นผลงานของตนที่สามารถทำได้สำเร็จ
นอกจากนี้ คุณควรมีการเก็บหลักฐานในความขยันของเขา และที่สำคัญที่สุดเมื่อเขาประสบความสำเร็จในแต่ละเป้าหมาย อย่าลืมที่จะถ่ายรูปในขณะที่เขากำลังขยันเรียน ถ่ายรูปใบประกาศเกรดต่าง ๆ ที่เขาได้จากโรงเรียน ดาวต่าง ๆ ที่เขาได้จากครูที่โรงเรียน หรือโครงงานต่าง ๆ ที่เขาทำสำเร็จ
รางวัล
เมื่อลูกของคุณบรรลุบางเป้าหมาย คุณควรฉลองกับเขา ไม่ว่าจะเป้าหมายเล็กหรือเป้าหมายใหญ่ มันก็คือเป้าหมายที่เขาทำสำเร็จ ให้รางวัลต่าง ๆ กับเขา เช่น เสิร์ฟของหวานของโปรดของเขาสำหรับเขาเป็นพิเศษ ให้เวลาในการดูโทรทัศน์มากขึ้น ซื้อหนังสือเล่มใหม่ให้ พาเขาออกไปข้างนอกกับครอบครัว ฯลฯ การรับทราบถึงความสำเร็จของเขาและการให้รางวัลจะช่วยเพิ่มความมั่นใจและ สร้างความภาคภูมิใจในตนเองของลูกคุณได้

ขอบคุณ The Asian parent

เด็กไทยยุคใหม่ทำไมไม่ชอบการเขียน?

เด็กไทยยุคใหม่ทำไมไม่ชอบการเขียน?

เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น จนอะไร ๆ ก็ง่ายไปหมด เด็กไทยนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น จนเด็กเริ่มอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ หรือแม้แต่เล่นนอกบ้านน้อยลง จนน่าเป็นห่วง

- สิ่งแรกที่เด็กไทยร้อยละ 51.1 ทำอย่างแรกหลังจากตื่นนอนคือการเช็คโทรศัพท์มือถือ
- สิ่งสุดท้ายที่เด็กไทยร้อยละ  35 ทำก่อนนอนคือการเล่น Facebook และ LINE
- เด็กไทยมีตัวเลขการใช้โทรศัพท์มือถือสูงขึ้น 2-3 เท่าในหนึ่งปี
- เด็กไทยร้อยละ 75.7 เล่น Social Network บ่อยจนไปถึงประจำ
- เด็กนักเรียนหญิงเล่น Social Network มากกว่านักเรียนชาย
- เด็กไทยร้อยละ 20.3 มีการใช้มือถือระหว่างคาบเรียนบ่อยถึงประจำ
- เด็กไทยร้อยละ 42.5 รู้สึกทนไม่ได้ถ้าอยู่คนเดียวโดยไม่มีโทรศัพท์
- เด็กไทยร้อยละ 28.7 ระบุว่าถูกคุกคามทางเพศจากเพื่อนใหม่ที่รู้จักกันบน Social Media
นอกจากนี้ผลวิจัยจากบริษัทมือถือแห่งหนึ่งยังชี้ให้เห็นว่า วัยรุ่นไทยมีมือถือและใช้มือถืออันดับหนึ่งของเอเชีย ทั้งทำสถิติพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถืออันดับหนึ่ง แถมวัยรุ่นไทยมีเพื่อนในเครือข่ายสังคมออนไลน์อันดับหนึ่ง สถิติการมีคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะของเด็กไทยยังสูงที่สุดในเอเชียอีกด้วย ร้อยละ 23 ของวัยรุ่นไทยบอกอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีมือถือ =_=!
สถิตินี้กำลังบอกอะไรกับเราอยู่? กำลังบอกว่าลูกหลานของเรามีเพื่อนเป็น “โทรศัพท์มือถือ” กันอยู่ใช่หรือไม่? หรือกำลังบอกไปถึงสาเหตุของอะไรบางอย่างที่เรากำลังค้นหาเหตุผล เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กไทย ที่ส่งผลให้ปัจจุบันนักบำบัดและจิตแพทย์เด็กต้องมาทำหน้าที่ในการแก้ปัญหาให้กับเด็กที่เกิดมามี “ภาวะปกติ” มากกว่าเด็กที่มีภาวะพิเศษแบบต่าง ๆ กันอยู่ค่ะ

เปลี่ยนผู้ร้าย IT ให้เป็นพระเอกตัวจริง

กล้ามเนื้อมือ เป็นกล้ามเนื้อสำคัญที่ในการพัฒนาสมองของลูกค่ะ เพราะนิ้วมือแต่ละนิ้วของลูกมีความสัมพันธ์กับสมองในแต่ละส่วนและการพัฒนาด้านต่าง
- นิ้วโป้ง สัมพันธ์กับสมองกลีบด้านหน้าซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านจิตใจ
- นิ้วชี้ สัมพันธ์กับสมองกลีบด้านหลังซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านความคิด
- นิ้วกลาง สัมพันธ์กับสมองกลีบข้างขม่อมซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกาย
- นิ้วนาง สัมพันธ์กับสมองกลีบขมับซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการฟัง
- นิ้วก้อย สัมพันธ์กับสมองกลีบท้ายทอยซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการมอง

นักการศึกษาหลายท่านจึงมุ่งเน้นการพัฒนาเด็ก ๆ ด้วยการเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำให้มากที่สุดเพราะนอกจากจะได้ ฝึกกำลังของกล้ามเนื้อมือแล้ว ยังเป็นการส่งสัญญานไปพัฒนาสมองส่วนต่าง ๆ ของเด็กได้อีกด้วย ความลับของสมองอีกข้อหนึ่ง คือการปฏิวัติตนเองแบบอัตโนมัติทุก ๆ 7 ปี ไปสู่การพัฒนาในขั้นที่สูงขึ้น เด็กหลายคนที่ไม่ได้รับการฝึกฝนทักษะใดใดมาก็อาจจะสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ แต่ไม่ได้ไปถึงขั้นสูงสุดของศักยภาพสมอง เพราะในช่วงสำคัญ 0-7 ปี มีโอกาสในการได้ใช้นิ้วมือทั้ง 5 เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสื่อกระตุ้นประสาทสัมผัส อาทิ ทราย แป้งปั้น น้ำ ฯลฯ น้อยกว่าเด็กคนอื่น ๆ เมื่อกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสนี้มีข้อมูลที่น้อย การนำความจำเดิมที่เป็นประโยชน์ตอนที่สมองปฏิวัติตนเองก็เลยไปไม่ถึงจุดสูง สุด เมื่อเด็กโตขึ้นจนเลยวัยสำคัญ ปัญหาของการใช้ “นิ้วมือ” ที่น้อยก็จะไปส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กไทย ดังที่เห็นในงานวิจัยค่ะ
แล้วเกี่ยวอย่างไรกับการเขียน? ปัญหาเรื่องลายมือ ปัญหาเรื่องการเขียนกลับด้าน ปัญหาเรื่องการมีความพยายามต่ำ ฯลฯ เป็นปัญหาที่มีจุดเริ่มต้นมาจากวิถีชีวิตในปัจจุบันทั้งสิ้นค่ะ การออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะช่วยให้เราซึ่งเป็นแม่บ้านในยุคใหม่ สามารถเลี้ยงลูกได้อย่างสะดวกสบายขึ้น กลายมาเป็นตัวขวางการพัฒนาการของข้อมือของเด็กในช่วงที่ถึงวัยต้องจับปากกา ดินสอ ก็เพราะว่า “ที่พยุงเด็กฝึกเดิน” ไปทำให้โอกาสในการคลานของเด็ก ๆ “ลดลง” แบบที่เราก็ไม่เคยคาดคิดค่ะ เมื่อข้อต่อบริเวณข้อมือไม่ได้ฝึกรับน้ำหนักมาตั้งแต่วัยหัดคลาน พอถึงวัยหัดเขียนคุณพ่อคุณแม่หรือแม่กระทั่งคุณครู ต้องมาเห็นบรรยากาศการวาดรูปด้วยน้ำตาของลูกแทนที่จะเป็นการปลดปล่อย จินตนาการ นักบำบัดจึงเข้ามามีบทบาทในการฝึกคลาน หรือฝึกทำท่าไถนา (ให้เด็กใช้มือตั้งศอกตรงวางลงบนพื้นและผู้ฝึกยกขาให้เด็กเดินไปข้างหน้า เหมือนไถนา) นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่เครื่องอำนวยความสะดวกเข้ามาทำหน้าที่จนทำให้เราเสียโอกาสในการพัฒนาลูก แบบที่หลายครอบครัวคงคิดไม่ถึงนะคะ
ทำให้ลูกมีนิสัยรักการอ่าน
ทั้งนี้เมื่อรวมเข้ากับวิธีการใช้ชีวิตของคุณพ่อคุณแม่ Generation Y อย่างพวกเราแล้วละก็ ยังมีอีกหลายข้อ ที่ความสะดวกรวดเร็วกำลังกลับมาเป็นปัญหาที่ต้องมาแก้เมื่อลูกถึงวัยที่ควร จะพัฒนาได้ค่ะ จากปัญหาการไม่อยากขีด ๆ เขียน ๆ มาประกอบกับการแทนที่ของเครื่องมือลาก ๆ จิ้ม ๆ ที่ง่ายสำหรับการใช้งาน เเถมยังสนุกเพราะเป็นการกระตุ้นสมองด้านเดียวคือ ด้านความคิด (ส่วนใหญ่ใช้นิ้วชี้) เด็ก ๆ จึงสนุกคิด แต่ไม่สนุกทำ ความสามารถในการคิดฝันจิตนาการ project ต่าง ๆ สูงลิ่ว แต่ความสามารถในการลงมือทำต่ำแบบสวนทางกันค่ะ จึงไม่น่าแปลกใจที่วัยประถมศึกษา จะเป็นวัยที่พบว่าเด็กมีปัญหาในการเรียนสูงมากขึ้น ๆ เมื่อถึงวัยมัธยมก็ได้กลายไปเป็นเด็กหลังห้องให้คุณครูและผู้ปกครองตามแก้ กันอย่างน่าปวดหัวค่ะ

















23 มี.ค. 2557

เริ่มเรียนภาษาอังกฤษในวัยอนุบาล ดีอย่างไรนะ?

เริ่มเรียนภาษาอังกฤษในวัยอนุบาล   ดีอย่างไร

1. เด็กรู้จักภาษาใหม่อีกหนึ่งภาษา ทำให้มีมุมมองของโลกกว้างขึ้น
2. เด็กมีโอกาสคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษ สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในชีวิตประจำวันได้บ้าง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับต่อไป
3. ถ้าฝึกทักษะภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็ก จะทำให้เด็กมีความมั่นใจ สามารถใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว และรวดเร็วเมื่อโตขึ้น
4. ตรงกับธรรมชาติของเด็กวัยนี้ คือ สนใจสิ่งใหม่ๆ รอบตัว ช่างพูด เรียนรู้ได้เร็ว และมีความสุขในการเรียนรู้

ปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ มีอะไรบ้าง
1. เด็กสนุกกับการเรียน เช่น คุณครูใช้สื่อการสอนหลายชนิด จัดรูปแบบกิจกรรมให้เด็กมีทางเลือกที่หลากหลายตามแนวคิดของทฤษฏีพหุปัญญา เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการสอน กับครู กับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนตลอดเวลา ไม่มีการท่องศัพท์ ไม่มีความเครียด มีแต่ความสนุกสนาน
2. เด็กมีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ ถ้าเด็กเรียนอย่างสนุกสนาน ชอบกิจกรรม อยากไปโรงเรียน นั่นหมายความว่า เด็กเริ่มมีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ
"เมื่อเด็กเรียนสนุก ใจชอบที่จะเรียนแล้ว อะไรๆ ก็ง่ายไปหมด"

ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กชั้นอนุบาล

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาล อายุระหว่าง 3 -6 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปูพื้นฐานภาษาอังกฤษ ทั้งในด้านการเรียนรู้ การใช้ภาษา และการสื่อสารผ่านการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับวัยของผู้ เรียน

สิ่งที่นักเรียนจะได้รับจากการเรียนภาษาอังกฤษที่ศูนย์เสริมภาษา Art&Crafts

  • เรียนรู้การอ่าน เขียน และการออกเสียงโดยผ่านการสอนแบบ Phonics
  • ฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษอย่างสนุกสนานโดยผ่านกิจกรรม เช่น การเล่นเกมส์ การร้องเพลง และการทายคำศัพท์
  • พัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษผ่านการฟังนิทานหรือเรื่องเล่า
  • บรรยากาศในห้องเรียนที่สนุกสนานและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้
รายละเอียดของคอร์ส
ในคอร์สนี้ เด็กๆ จะได้เรียนภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมหลากหลายโดยใช้ระบบ Phonics
Phonics คือ วิธีการสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆ สามารถออกเสียง อ่านออกและเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสนุกสนานกับการเรียนไปในขณะเดียว กัน ระบบการสอนนี้จะเน้นให้เด็กๆ เรียนรู้เสียงของตัวอักษรผ่านการแสดงท่าทางพร้อมสื่อหลากหลายเพื่อกระตุ้น การเรียนรู้ของสมองอย่างเป็นระบบ ผลลัพธ์ที่ได้คือเด็กๆ จะสามารถอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ยังเล็ก
เด็กๆ จะได้เรียนรู้เสียงของตัวอักษรต่างๆ ซึ่งสามารถเปล่งเสียงออกมาได้แตกต่างกัน 42 เสียง โดยครูจะสอนให้เด็กรู้จักเสียงนั้นๆ จากการแสดงท่าทางประกอบเรื่องราวหรือนิทานที่น่าสนใจ ซึ่งการเล่าเรื่องและการแสดงท่าทางประกอบของคุณครูนั้นจะทำให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนและสามารถจดจำเสียงของตัวอักษรต่างๆ ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น  นอกจากนี้เด็กๆ ยังจะได้เรียนรู้การผสมเสียงเพื่อสร้างเป็นคำต่างๆ มากมาย ซึ่งท้ายที่สุดแล้วเด็กๆ ก็จะสามารถพัฒนาทักษะในการอ่านและเขียนได้ในระยะเวลาอันสั้น

 ระยะเวลาการเรียน
     -  เสาร์และอาทิตย์ 
     -  เวลา  9.00  -  10.30  น.
     -  รวม  12   ชั่วโมง   /  เดือน

22 มี.ค. 2557

เรียนภาษาอังกฤษได้ไม่ยาก

ปัญหาของคนไทยส่วนมากที่เมื่อเรียนภาษาอังกฤษไปแล้วเมื่อไม่นำมาใช้ก็จะ ลืม และไม่มีการเรียนแบบต่อเนื่อง หรือสับสนในเรื่องของความหมายของคำศัพท์ หรือสำเนียงการออกเสียง นั้นเป็นเพราะว่าครูผู้สอนแต่ละท่านก็จะมีสำเนียงการออกเสียงที่แตกต่างกัน ออกไป แต่สำหรับการสอนของเรานั้น ผู้เรียนจะได้ฟังเสียงที่ถูกต้อง ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการออกเสียงและการพูดมากขึ้น พร้อมทั้งยังมีการอธิบายคำศัพท์แต่ละคำอย่างถูกต้องชัดเจน ทำให้ผู้เรียนจดจำคำศัพท์ในความหมายที่ถูกต้อง อีกทั้งยังให้มีการอ่านคำๆนั้น หลายๆครั้งจนกว่าผู้อ่านนันจะออกเสียงได้ถูกต้องทำให้ผู้เรียนเองนั้นเกิด ความชิน และความเข้าใจมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ผู้เรียนมั่นใจได้ว่าการสอนภาษาอังกฤษของเรา จะทำให้ผู้เรียนได้รับผลประโยชน์อย่างสูงสุด เกิดการพัฒนาโปรแกรมทำให้เกิดการฝึกโดยเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ และช่วยให้สมองของเราจดจำได้ง่ายขึ้น และเมื่อเรียนจบไปแล้ว สิ่งที่เรียนก็ยังจะคงอยู่กะผู้เรียนตลอดไป

วิธีเรียนรู้ภาษาที่ดีต้องเป็นไปตามหลักการตามธรรมชาติและเหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ของสมอง ดังนี้ Listening -> Phonics -> Decoding -> Fluency -> Vocabulary -> Comprehension -> Critical Thinking แต่น่าเสียดายที่โรงเรียนส่วนใหญ่ในสมัยนี้ไม่ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือ รูปแบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ภาษาตามหลักธรรมชาติ  ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาทักษะการคิดและการรับรู้พื้นฐานที่ช่วยให้สมองสามารถ เรียนรู้ภาษาอังกฤษได้รวดเร็วขึ้น นอกจากความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ดีขึ้นแล้ว ผู้เรียนจะมีความจำ สมาธิ ความรวดเร็วในการประมวลผลและทักษะการเรียงลำดับก่อนหลังที่ดีขึ้นอย่างเห็น ได้ชัด

ทำอย่างไร ถึงจะสามารถเรียนภาษาอังกฤษและนำมาใช้ได้จริง? 

จากการวิจัยพบว่าการฝึกในสถาบันหรือโรงเรียนทั่วไปเป็นวิธีการฝึกและสอน แบบดั้งเดิม โดยบางคนนั้นต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะสามารถพูดฟังอ่านเขียนได้คล่อง และไม่ใช่ว่าทุกคนที่จะมีมีพัฒนาการที่ดีเหมือนกันหรือเท่ากัน  สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้การเรียนภาษาอังกฤษได้ผลเร็วคือการเรียนภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง
จากการวิจัยด้านกลไกการทำงานของสมองกว่า 30ปี การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เร็วที่สุดหากฝึกอย่างถูกวิธี ดังนี้
•    ต้องเรียนทักษะตามลำดับการรับรู้ข้อมูลโดยธรรมชาติของสมอง
•    สิ่งแวดล้อมในการฝึกต้องเอื้ออำนวย
•    ความถี่ในการฝึกเพียงพอและสม่ำเสมอ
•    ความยากง่ายของเนื้อหาต้องสอดคล้องกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคน
•    การวิเคราะห์ภาษาต้องใช้สมองหลายๆส่วนทำงานพร้อมๆกัน
•    การโต้ตอบทางบวกหรือรางวัลเพื่อให้มีความสนุกสนานในการเรียนและไม่ทำให้เบื่อ

สำหรับทุกท่านที่กำลังมองหาที่เรียนพิเศษภาษาอังกฤษตอน นี้ อย่าช้าที่จะมาร่วมคอร์สกับเรา พร้อมหลักสูตรการเรียนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและคุณจะเห็นถึงพัฒนาการได้ ชัดเพียงแค่ไม่กี่สัปดาห์ หากสนใจร่วมคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 080-3959847,0831747574

ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว.........ด้วยโฟนิกส์


ภาษาอังกฤษ เป็น ภาษาสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเกือบทั่วโลก ในยุคปัจจุบันมีข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ต่าง ๆ เกิดขึ้นจำนวนมากมายมหาศาล ในการเข้าถึงแหล่งความรู้ของโลกได้นั้นจำเป็นต้องรู้ภาษาอังกฤษ ผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี มักเป็นผู้ที่มีโอกาสที่จะได้เปรียบผู้อื่น ทั้งด้านการศึกษา ตำแหน่งการงาน และรายได้ที่สูงกว่า
 
คุณพ่อคุณแม่อาจเคยเห็นคำว่า Phonics ตามโรงเรียนและสถาบันสอนภาษาบ่อยครั้ง ทราบหรือไม่ว่า Phonics นั้นไม่ใช่การสอนออกเสียงภาษาอังกฤษให้เหมือนเจ้าของภาษาอย่างที่คุณพ่อคุณ แม่บางท่านเข้าใจนะคะ แต่เป็นระบบการสอนอ่าน-เขียนให้เด็กวัยเริ่มเข้าโรงเรียน ระบบ Phonics ใช้หลักการผสมเสียง (Blending) ของตัวอักษรแต่ละตัวเพื่ออ่านเป็น พยางค์ คำ และประโยคตามลำดับ การสอนระบบ Phonics นี้เน้นการสอนให้เด็กเรียนตัว อักษร (รูปอักษร "s") ควบคู่ไปกับเสียง [s] มากกว่าการสอนชื่อตัวอักษร ("ตัวเอส") เมื่อเด็กรู้ว่า ตัวอักษรไหนมีเสียงอะไร เมื่อเห็นตัวอักษรนั้น แม้ในคำที่ไม่รู้จัก ก็จะสามารถ "ถอดรหัสเสียง" และผสมเสียงอ่านเป็นคำได้
"เรียนภาษาอังกฤษแนวใหม่ หมดยุคท่องจำแข่งนำเข้าเทคนิคใหม่สอนเด็กเล็ก"


การ สอนการออกเสียง (โฟนิคส์) ที่เน้นความสนุกสนาน ใช้ประสาทสัมผัสหลายด้าน และให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยสอนการออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษกว่า 40 ตัวอักษรแก่เด็กอย่างรวดเร็ว และส่งเสริมให้เด็กๆ นำความรู้เรื่องการออกเสียงมาใช้ในการอ่านและเขียนคำต่างๆ ได้ตั้งแต่อายุยังน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ปัจจุบัน พ่อแม่ผู้ปกครองนิยมให้ลูกเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ยังเล็ก เนื่องจากต้องการให้ลูกได้ซึมซับสำเนียงที่เป็นต้นฉบับเจ้าของภาษาจริงๆ การจะเลือกสถานที่เรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญ  เรียนภาษาอังกฤษแนวใหม่ หมดยุคท่องจำ แข่งนำเข้าเทคนิคใหม่สอนเด็กเล็ก  ดังนั้น การสอนการออกเสียง (โฟนิคส์) ที่เน้นความสนุกสนาน ใช้ประสาทสัมผัสหลายด้าน และให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยสอนการออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษกว่า 40 ตัวอักษรแก่เด็กอย่างรวดเร็ว และส่งเสริมให้เด็กๆ นำความรู้เรื่องการออกเสียงมาใช้ในการอ่านและเขียนคำต่างๆได้ตั้งแต่อายุยัง น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซู ลอยด์ และ ซารา เวิร์นแฮม ครูชาวอังกฤษ อธิบายว่า การเรียนการสอนจะไม่เน้นท่องจำตัวอักษร ABC แต่จะเป็นการเรียนรู้การออกเสียงผ่านเรื่องราว เน้นเรื่องการผสมคำเพื่อให้เด็กรู้สึกเป็นเจ้าของคำศัพท์นั้นๆ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักตัวอักษรและคำศัพย์โดยไม่ต้องท่องจำ แม้แต่เด็กที่ไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษมาก่อนก็สามารถเรียนได้ นอกจากนี้ยังช่วยในการเปล่งเสียง ซึ่งจะตัดปัญหาสำเนียงที่ไม่ถูกต้อง ขณะที่เด็กที่ผ่านการเรียนแบบท่องจำมาตลอด จะรู้จักเฉพาะคำศัพย์ที่ท่องมาเท่านั้น
ทั้ง นี้ การเรียนการสอนเสียงต่างๆ จะเรียงตามลำดับที่กำหนดไว้เป็นพิเศษ ไม่ใช่ตามลำดับตัวอักษร ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถเริ่มสร้างคำได้ตั้งแต่อายุยังน้อยที่สุดเท่าที่จะ เป็นไปได้ โดยแต่ละเสียงมีการใช้ท่าทาง เรื่องราว และรูปภาพประกอบ ซึ่งจะดึงดูดความสนใจของเด็กและให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ซู ลอยด์ และ ซารา เวิร์นแฮม บอกอีกว่า โปรแกรมจอลลี โฟนิคส์ช่วยสร้างเสริมทักษะและกลวิธีในการเรียนรู้คำใหม่ๆ โดยจะส่งเสริมให้เด็กๆเป็นนักอ่านและนักเขียนด้วยตัวเองตั้งแต่เริ่มแรก และเลี่ยงวิธีการเรียนรู้แบบท่องจำ นอกจากการเพิ่มช่วงอายุการอ่านและการออกเสียงแล้วระบบ จอลลี โฟนิคส์ ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เด็ก ซึ่งในเวลาอันสั้น เด็กจะสามารถอ่านและเขียนหนังสือได้หลากหลายประเภท และเนื่องจากการสอนทักษะการออกเสียงขั้นพื้นฐานที่จำเป็นเหล่านี้กระทำอย่าง รวดเร็ว ทำให้เด็กๆ สามารถพัฒนาไปสู่ขั้นตอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์ได้เร็วขึ้น และทำให้สอนกลวิธีการอ่านเอาเรื่องในขั้นสูงได้เร็วขึ้นด้วย
 
ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ