(Teaching Children to Read from Songs and Rhymes)
การสอนอ่านจากเพลงและคำคล้องจองมีความสำคัญอย่างไร?
การสอนอ่านจากเพลงและคำคล้องจองมีความสำคัญดังนี้คือ
การสอนอ่านจากเพลงและคำคล้องจองมีความสำคัญ
เนื่องจากเป็นภาษาไพเราะ สามารถนำมาใช้ในการสื่อความหมายได้ดี จึงเป็นที่ยอมรับของสังคมในการแสดงออกทางอารมณ์ที่งดงาม
ตลอดจนความสนุกสนาน ทำให้เด็กพอใจที่จะเรียนรู้
พ่อแม่ ผู้ปกครองจะสอนลูกอ่านจากเพลงและคำคล้องจองได้อย่างไร?
การจัดกิจกรรมสอนอ่านจากเพลงและคำคล้องจองที่บ้าน
เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถจัดได้อย่างง่ายและสะดวก เริ่มตั้งแต่พ่อแม่ต้องเชื่อก่อนว่า
พ่อแม่คือผู้มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาการอ่านของลูก ผลการวิจัยจำนวนมากได้ยืนยันตรงกันว่า
ครอบครัวที่พ่อแม่เอาใจใส่หาหนังสือให้ลูกอ่าน มีเครื่องเขียนให้ลูกใช้
และมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน ด้วยการชักชวน เร้าความสนใจให้ลูกอ่านด้วยวิธีการต่างๆนั้น
เด็กจะอ่านหนังสือออก หรืออ่านหนังสือได้ ตั้งแต่อายุยังน้อย การร้องเพลงและท่องคำคล้องจองให้ลูกฟัง
เป็นวิธีการที่ใช้กันทุกชนชาติ และพบผลว่า เด็กที่เคยท่องคำคล้องจอง ร้องเพลง
ฟังเพลง จะประสบความสำเร็จในด้านการอ่านและการเขียน ดังนั้น พ่อแม่มีแนวปฏิบัติที่น่าสนใจในการสอนอ่านให้ลูกจากเพลงและคำคล้องจองดังนี้
- กล่อมลูกนอน โดยใช้บทเพลงและคำคล้องจองที่มีอยู่มากมายหลายสำนวนของแต่ละท้องถิ่น เช่น เพลงกล่อมเด็กที่เก่าแก่ และใช้ต่อๆมาอย่างแพร่หลาย คือเพลงกล่อมเด็ก นกเอี้ยง ความว่า “นกเอี้ยง ไปเลี้ยงควายเฒ่า ควายกินข้าว นกเอี้ยงหัวโต ไปจับต้นโพธิ์ ร้องไห้หงิง ไปจับต้นขิง เขายิงลงมา ไปจับต้นข่า เขาด่าแม่เอา ไปจับต้นไทร ไถลถลอก ไปจับต้นหมาก เขาลากลงมา ไปจับต้นจำปา นกเอี้ยงหัวโต”
หาหนังสือหรือทำหนังสือสำหรับเด็กง่ายๆ
เขียนบทเพลง คำคล้องจอง แล้ววาดภาพประกอบ นำมาอ่าน ร้องให้ลูกฟังก่อน นอน หรือเวลาที่เหมาะสมเมื่ออยู่ร่วมกัน
รวมทั้งเพลงและคำคล้องจองภาษาอื่นๆที่เข้ามาใช้ในชีวิตของเราในปัจจุบัน เช่น
ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างหนังสือ บทคำคล้องจองที่น่าอ่านเช่น คำกลอนสอนอ่าน จากประถม
ก กา แบบเรียนเล่มแรกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฉบับ เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์
(หม่อมราชวงศ์จิตต์) รวบรวม เป็นหนังสือที่มีบทคำคล้องจอง สอนอ่านจากมาตรา แม่ ก
กา แม่ กก แม่กง แม่กด แม่กน แม่กบ แม่กม แม่เกย เหมาะสำหรับเด็กระดับประถมศึกษา
เรื่องขับขานบทเพลง บรรเลงบทกลอน มีบทเพลงเด็กและคำกลอนสอดคล้องกัน ได้สาระและความไพเราะ
มีภาพประกอบสวยงาม
|
|
- กล่อมลูกนอน โดยใช้บทเพลงและคำคล้องจองที่มีอยู่มากมายหลายสำนวนของแต่ละท้องถิ่น เช่น เพลงกล่อมเด็กที่เก่าแก่ และใช้ต่อๆมาอย่างแพร่หลาย คือเพลงกล่อมเด็ก นกเอี้ยง ความว่า “นกเอี้ยง ไปเลี้ยงควายเฒ่า ควายกินข้าว นกเอี้ยงหัวโต ไปจับต้นโพธิ์ ร้องไห้หงิง ไปจับต้นขิง เขายิงลงมา ไปจับต้นข่า เขาด่าแม่เอา ไปจับต้นไทร ไถลถลอก ไปจับต้นหมาก เขาลากลงมา ไปจับต้นจำปา นกเอี้ยงหัวโต”
- เล่นกับลูกตั้งแต่เป็นทารก ใช้เพลงและคำคล้องจองประกอบการเล่น เช่น ร้องบท จับปูดำขยำปูนา จับปูม้าคว้าปูทะเล... พ่อแม่จะต้องทำท่าประกอบจับปู (กำมือแล้วคลายเป็นจังหวะ) หยอกล้อ ทำหน้าตาให้ลูกดูบทร้องไปด้วย และเมื่อคำสุดท้าย คว้าปูทะเล ให้จับส่วนต่างๆของลูก ทำซุ้มเสียงให้ตื่นเต้น เด็กจะสนุก และเริ่มเรียนรู้ความหมายของคำจากเสียงที่สื่อถึงการเล่นก่อน สร้างอารมณ์สนุก เห็นความหมายในการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารกันในกลุ่มคน สำหรับเด็กที่โตขึ้นมามีบทร้องประกอบการเล่น ทั้งร้องเป็นเพลงและท่องคำคล้องจองมากมายที่ใช้ต่อๆกันมา เช่น บทร้อง อ้ายเข้ อ้ายโขง บทร้องมอญซ่อนผ้า ฯลฯ พ่อแม่อาจจะแต่งขึ้นใหม่ก็ได้ โดยยึดหลักว่า เป็นภาษาง่ายๆ ชวนให้เล่นร้องร่วมกันได้
- หาหนังสือหรือทำหนังสือสำหรับเด็กง่ายๆ เขียนบทเพลง คำคล้องจอง แล้ววาดภาพประกอบ นำมาอ่าน ร้องให้ลูกฟังก่อนนอน หรือเวลาที่เหมาะสมเมื่ออยู่ร่วมกัน รวมทั้งเพลงและคำคล้องจองภาษาอื่นๆที่เข้ามาใช้ในชีวิตของเราในปัจจุบัน เช่น ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างหนังสือ บทคำคล้องจองที่น่าอ่านเช่น คำกลอนสอนอ่าน จากประถม ก กา แบบเรียนเล่มแรกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฉบับ เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ (หม่อมราชวงศ์จิตร์) รวบรวม เป็นหนังสือที่มีบทคำคล้องจอง สอนอ่านจากมาตราแม่ ก กา แม่ กก แม่กง แม่กด แม่กน แม่กบ แม่กม แม่เกย เหมาะสำหรับเด็กระดับประถมศึกษา เรื่องขับขานบทเพลง บรรเลงบทกลอน มีบทเพลงเด็กและคำกลอนสอดคล้องกัน ได้สาระและความไพเราะ มีภาพประกอบสวยงาม เช่น เพลง ระบำชาวเกาะ ความว่า “รำ ระบำชาวเกาะ ไพเราะเสนาะจับใจ เสียงน้ำหลั่งไหล (ซ้ำ) กระทบหาดทรายดังครืนครืน (ซ้ำ)” บทกลอน ระบำชาวเกาะ
ทะเลสีคราม
|
ฟ้างามยามเย็น
|
เด็กเด็กเริงเล่น
|
เต้นระบำชาวเกาะ
|
เจ้าด่างจับปู
|
หนูหนูหัวเราะ
|
เล่นน้ำบนเกาะ
|
เหมาะใจจังเลย
|
- ร้องเพลงในยุคสมัย พร้อมเขียนคำร้องนั้น ให้ลูกอ่าน พร้อมพ่อแม่ กรณีเช่นนี้ พ่อแม่ขอคำปรึกษาจากครูที่จะจัดกระบวนการสอน หรือขั้นตอนการสอนอ่านสำหรับเด็กเริ่มเรียน แล้วนำมาใช้จัดให้ลูกอ่านที่บ้านด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การสอนระหว่างบ้านและโรงเรียนไปในทิศทางเดียวกัน
- นำบทคำคล้องจองมาอ่าน หรือนำเพลงมาร้องแบบปนเล่นต่อเพลงหรือ คล้องจองง่ายๆ คนละวรรค คนละท่อนเช่น
บทคำคล้องจอง
เป็ด (ผู้แต่ง บุบผา เรืองรอง)
(พ่อแม่ท่อง) เป็ดมีสองขา
|
(ลูกท่องต่อ)
เดินมาช้าช้า
|
(พ่อแม่ท่อง) ก๊าบ
ก๊าบร้องหา
|
(ลูกท่องต่อ)
เศษปลาเศษผัก
|
(พ่อแม่ท่อง)
เป็ดชอบว่ายน้ำ
|
(ลูกท่องต่อ)
ผุดดำน่ารัก
|
(พ่อแม่ท่อง)
เสร็จแล้วมาพัก
|
(ลูกท่องต่อ)
กกฟักไข่เป็ด
|
เพลง
ตัวเลขอยู่ไหน (ผู้แต่ง บุบผา เรืองรอง ทำนอง เพลง หัวแม่มือ อยู่ไหน)
“เลขหนึ่งอยู่ไหน (พ่อแม่ร้อง) เลขหนึ่งอยู่ไหน (ลูกร้อง) อยู่นี่จ๊ะ
(พ่อแม่ร้อง) อยู่นี้จ๊ะ (ลูกร้อง) สุขสบายดีหรือไร(พ่อแม่ร้อง) สุขสบายทั้งกายใจ
(ลูกร้อง) ไปก่อนละ สวัสดี (พ่อแม่ร้อง) ไปก่อนละ สวัสดี (ลูกร้อง)”
บทเพลงนี้
ใช้บัตรตัวเลขประกอบการร้อง และเปลี่ยนตัวเลข 1-10
เป็นพื้นฐานก่อน สลับเปลี่ยนผู้เล่นถือบัตรเลขต่างๆ เช่นพ่อ
ถือเลขหนึ่ง แม่ถือ เลขสอง และลูกๆถือ เลข สาม สี่ ฯลฯ เด็กจะได้อ่าน ร้อง และเล่นไปด้วย
เป็นการเรียนที่ไม่เหมือนเรียน
การส่งเสริมการอ่านให้แก่เด็กที่บ้าน ควรจัดอย่างไม่เป็นทางการเหมือนที่โรงเรียน
ทุกโอกาสที่ลูกอยู่ที่บ้าน หากเด็กได้ยินได้ฟังเพลงและคำคล้องจอง
ก็เป็นการสอนเด็กระดับหนึ่งแล้ว เมื่อเพิ่มตัวหนังสือให้เด็กได้เห็น
และอ่านท่ามกลางบรรยากาศความสุข เด็กย่อมเต็มใจที่จะเรียนรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น