29 มี.ค. 2557

ปิดเทอม กิจกรรมวันหยุด ให้ลูกไม่เบื่อ

เด็ก ๆ มักมีสมาธิกับการทำกิจกรรมค่อนข้างสั้น พวกเขาจะเบื่ออะไรง่าย และสิ่งท้าทายสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่คือ ต้องให้ความบันเทิงกับลูกไปพร้อมกับให้ความรู้อยู่ตลอดเวลา ลองมาดูวิธีที่ทำให้ลูกของคุณมีสมาธิกับบางกิจกรรมในวันที่ลูกไม่ได้ไป โรงเรียนกัน

กุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณไม่ได้ยินคำที่น่ากลัวอย่างคำว่า “เบื่อ” ออกจากปากลูกนั้นคือ คุณต้องทำให้ทั้งจิตใจและร่างกายของลูกจดจ่ออยู่กับสิ่งใหม่ ๆ เปิดหูเปิดตาและเปิดจินตนาการของลูกให้ได้เห็นและทำสิ่งใหม่ ๆ ให้ได้เรียนรู้สถานการณ์ ประสบการณ์ และไอเดียใหม่ ๆ ฟังดูแล้วเหมือนคุณต้องวางแผนเพื่อทำให้ลูกไม่เบื่อเยอะแยะมากมาย ต้องมีค่าใช้จ่าย และใช้เวลา คุณคิดว่าอย่างนั้นใช่หรือไม่? ลองคิดใหม่อีกที เพราะจริง ๆ แล้วมีหลากหลายวิธีที่ให้ลูกคุณได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยที่มีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย และที่สำคัญการวางแผนก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง
เด็กในวัยประถมต้น
เด็กที่อายุต่ำกว่า 7 ขวบจะไม่ค่อยเบื่อง่ายเนื่องจากเป็นวัยที่ชอบออกไปสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวว่ามันทำงานอย่างไร แต่เมื่อเขาเริ่มไปโรงเรียน เขาจะคุ้นเคยกับกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำทุกวันที่โรงเรียน และเมื่อต้องหยุดเรียนที่มากกว่าสองถึงสามวัน พวกเขาจะไม่ค่อยรู้ว่าต้องทำอะไรด้วยตัวเอง นอกเหนือจากกิจกรรมที่ทางโรงเรียนกำหนดให้ ฉันรู้ซึ้งถึงความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในบ้านเมื่อเด็ก ๆ เกิดอาการเบื่อขึ้นมา ดังนั้น ฉันจะเล่าประสบการณ์ที่มีประโยชน์สักสองสามเรื่องที่ช่วยฉันได้เมื่อแมลง เบื่อมาเยือนบ้านของฉัน…
ให้ลูกเสริมความรู้ในช่วงซัมเมอร์ โรงเรียนส่วนใหญ่จะมีช่วงหยุดภาคเรียน นี่เป็นเวลาดีที่จะช่วยเสริมความรู้ให้กับลูกของคุณเพื่อให้เขาได้เปลี่ยน บรรยากาศจากห้องเรียนที่น่าเบื่อในโรงเรียนบ้าง เช่น เรียนทำอาหาร เรียนการแสดง เรียนทำเครื่องปั้นดินเผา เรียนตกปลา เรียนถ่ายรูป หรือเรียนเขียนหนังสือ ลองหาเวลาสัก 1-2 วันต่อสัปดาห์เพื่อทำกิจกรรมพิเศษสำหรับครอบครัว กิจกรรมเหล่านี้อาจเป็นการว่ายน้ำด้วยกัน ไปสวนสัตว์ หรือกิจกรรมอื่น ๆ (ที่ถูกหรือไม่มีค่าใช้จ่ายเลย) เล่นกับเพื่อน ๆ หรือไปปิกนิคกันที่สวนสาธารณะ สอนให้ลูกเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เช่น สอนเย็บผ้า สอนถักโครเช สอนให้ทำงานไม้ หรืออะไรก็ตามที่พวกเขาสนใจ หากคุณไม่มีทักษะเรื่องพวกนี้ ลองถามผู้ที่มีประสบการณ์มาก่อน หรือจะพาลูกไปวัดก็เป็นเรื่องดีไม่ใช่น้อย ลองให้ลูกคุณเป็นตากล้องและให้เขาบันทึกภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ของครอบครัวในวันนั้น ๆ ดูก็ได้
ให้ลูกทำงานบ้านเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ค่าขนมมากขึ้น
คุณอาจพาลูกปลูกผักสวนครัวเล็ก ๆ และให้เขามีหน้าที่รับผิดชอบดูแลสวน ให้ลูกที่โตหน่อยดูแลห้องนี่งเล่นหรือห้องน้ำในบ้านของคุณ
คุณมีรูปของครอบครัวที่เก่าเก็บหรือไม่? ให้ลูกคุณที่โตหน่อยช่วยจัดเรียงอัลบัมรูปขึ้นบนชั้นวาง คุณอาจช่วยคัดแยกรูปที่ไม่ชัดหรือรูปที่หาที่มาที่ไปไม่ได้ออกก่อน แล้วให้ลูกช่วยจัดขึ้นบนชั้น ใช้เวลาอยู่ด้วยกันเหมือนคนในสมัยก่อนบ้าง นั่นคือ ไม่มีทีวี ไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือไม่ใช้เครื่องอำนวยความสะดวก เป็นต้น ร่วมกันเล่นเกม เช่น หมากรุก เล่นซ่อนหา เล่นเกมงูกินหาง เล่นเกมคำศัพท์ เป็นต้น
จัดให้มีการแสดงความสามารถเล็ก ๆ น้อย ๆ ในบ้าน คุณอาจเอาผ้าม่านที่ไม่ใช้แล้วให้ลูกฝึกแต่งตัวและแสดงเป็นตัวละคร และให้คุณกับสามี/ภรรยาของคุณเป็นผู้ดูละครเวทีหลังอาหารเย็น หรือใช้เวลาสองถึงสามชั่วโมงเป็นอาสาสมัครในชุมชนของคุณ คุณอาจทำเรื่องง่าย ๆ เช่น พาคนแก่ไปเดินเล่น ไปให้อาหารที่บ้านพักคนชรา
นอกจากนี้แล้ว คุณยังสามารถค้นหาไอเดียใหม่ ๆ ที่ใช้ทำกับลูกเพื่อไม่ให้ลูกเบื่อได้ทางอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นไอเดียการทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือเล่นทายปัญหา ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้คุ้มค่า เมื่อได้รายการกิจกรรมแล้ว ให้ลูกคุณเลือก 2-3 กิจกรรมในแต่ละสัปดาห์

ช่วยลูกของคุณ ตั้งเป้าหมายการเรียน

ช่วยลูกของคุณ ตั้งเป้าหมายการเรียน


การศึกษาของลูกคุณจะต้องเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญและมาเป็นอันดับต้น ๆ สำหรับคุณเสมอ เช่นเดียวกับพ่อแม่ทั่วไปที่ต้องการสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก ๆ และอยากให้ลูก ๆ นั้นเรียนหรือทำกิจกรรมได้ดีที่โรงเรียน เพราะนั่นหมายความว่าเขาจะดำเนินชีวิตของเขาได้ดีด้วย
การบังคับให้ลูกของคุณเรียนหนังสือให้ดีเยี่ยมนั้นไม่ใช่การกระทำที่ ถูกต้อง ในทางกลับกัน เขาอาจเกิดความโกรธ ที่ต้องไปโรงเรียนหรือมีความกลัวบางอย่างขึ้นมาได้ นอกจากนี้ เขาอาจถอนความตั้งใจหรือเสียความตั้งใจหากโดนตำหนิอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้น คุณควรกระตุ้นลูกของคุณให้รักการเรียนโดยการให้กำลังใจและแนะนำการเรียน หนังสือที่ดี และการช่วยลูกคุณ ตั้งเป้าหมายการเรียน เป็นสิ่งที่ดีมากเช่นกัน
เป้าหมายในการศึกษาจะเป็นไปได้ ก็ต่อเมื่อลูกของคุณต้องการที่จะทำให้สำเร็จจริง ๆ
หากเขาได้รับแรงบันดาลใจในการที่จะเรียนให้เก่งก็จะช่วยให้เขาสามารถ เรียนได้เร็วขึ้น ช่วยจัดมุมสบาย ๆ โดยมีโคมไฟ โต๊ะ เก้าอี้ พร้อมทั้งอุปกรณ์ในการเรียนที่จำเป็น เช่น ดิกชันนารี สารานุกรม หรือหนังสืออ้างอิงอื่น ๆ ให้เขา นอกจากนี้คุณอาจจะนำของว่างหรือน้ำผลไม้ที่ช่วยให้เขาสดชื่นเสิร์ฟให้เขา ด้วย
ตั้งเป้าหมายที่สามารถทำได้และอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
ในการตั้งเป้าหมาย อย่าลืมที่จะแนะนำลูกของคุณให้ ตั้งเป้าหมายการเรียน ที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและสามารถทำได้จริง หากลูกคุณอ่อนในบางวิชาที่สอนในโรงเรียน อาจจะดีที่กว่าถ้าเขาตั้งเป้าหมายวิชานั้นเป็น B แทนที่จะตั้งเป็น A ในทันที การทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้เขาสามารถไปถึงเป้าหมายได้ แต่มันยังจะป้องกันไม่ให้เขาเกิดภาวะกดดันกับวิชานั้น ๆ  มากจนเกินไปจนอาจนำไปสู่การยอมแพ้ในวิชานั้น ๆ ได้ อย่าปล่อยให้เขามองข้ามในวิชาที่เขาเก่งอยู่แล้ว แต่ให้ช่วยเขาตั้งเป้าหมายให้สูงสำหรับวิชาที่เขาเก่ง และพูดคุยกับเขาเพื่อนำเขาไปสู่การมีส่วนร่วมในสมาคมของวิชานั้น ๆ หรือมีส่วนร่วมในการแข่งขันต่าง ๆ ในวิชาที่เขาถนัด

มีส่วนร่วม
มีส่วนร่วมในการ ตั้งเป้าหมายการเรียน ของลูกคุณโดยเสนอช่วยสอนเขาในบางวิชาที่คุณเองมีความสามารถเพียงพอ หากคุณชอบวิชาคณิตศาสตร์ สอนลูกคุณให้รู้จักเทคนิคต่าง ๆ และวิธีการที่จะทำให้โจทย์นั้นแก้ง่ายขึ้น ลูกของคุณจะมีความสนใจอย่างต่อเนื่องหากมีคนคอยให้คำแนะนำเขา
ช่วยลูกของคุณ
เมื่อลูกของคุณได้รับแรงบันดาลใจและเริ่มที่จะบรรลุเป้าหมายของเขาแล้ว ช่วยเขาในการทำตารางแสดงสิ่งที่เขาจำเป็นต้องทำต่อไป นอกจากการทำรายการจุดมุ่งหมายของเขาแล้ว ควรช่วยกันทำกำหนดเวลาของเป้าหมายต่าง ๆ ด้วย บางเป้าหมายอาจใช้เวลาเพียงหนึ่งภาคการเรียน แต่บางเป้าหมายอาจต้องใช้เวลาทั้งปีที่อยู่ในโรงเรียน การเตือนเขาเรื่อย ๆ ในสิ่งที่เขาจะต้องบรรลุเป้าหมายนั้นไม่เพียงแต่จะช่วยให้เขาทำตามกำหนดเวลา แต่ยังจะช่วยให้เขารู้สึกภาคภูมิใจเมื่อเห็นผลงานของตนที่สามารถทำได้สำเร็จ
นอกจากนี้ คุณควรมีการเก็บหลักฐานในความขยันของเขา และที่สำคัญที่สุดเมื่อเขาประสบความสำเร็จในแต่ละเป้าหมาย อย่าลืมที่จะถ่ายรูปในขณะที่เขากำลังขยันเรียน ถ่ายรูปใบประกาศเกรดต่าง ๆ ที่เขาได้จากโรงเรียน ดาวต่าง ๆ ที่เขาได้จากครูที่โรงเรียน หรือโครงงานต่าง ๆ ที่เขาทำสำเร็จ
รางวัล
เมื่อลูกของคุณบรรลุบางเป้าหมาย คุณควรฉลองกับเขา ไม่ว่าจะเป้าหมายเล็กหรือเป้าหมายใหญ่ มันก็คือเป้าหมายที่เขาทำสำเร็จ ให้รางวัลต่าง ๆ กับเขา เช่น เสิร์ฟของหวานของโปรดของเขาสำหรับเขาเป็นพิเศษ ให้เวลาในการดูโทรทัศน์มากขึ้น ซื้อหนังสือเล่มใหม่ให้ พาเขาออกไปข้างนอกกับครอบครัว ฯลฯ การรับทราบถึงความสำเร็จของเขาและการให้รางวัลจะช่วยเพิ่มความมั่นใจและ สร้างความภาคภูมิใจในตนเองของลูกคุณได้

ขอบคุณ The Asian parent

เด็กไทยยุคใหม่ทำไมไม่ชอบการเขียน?

เด็กไทยยุคใหม่ทำไมไม่ชอบการเขียน?

เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น จนอะไร ๆ ก็ง่ายไปหมด เด็กไทยนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น จนเด็กเริ่มอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ หรือแม้แต่เล่นนอกบ้านน้อยลง จนน่าเป็นห่วง

- สิ่งแรกที่เด็กไทยร้อยละ 51.1 ทำอย่างแรกหลังจากตื่นนอนคือการเช็คโทรศัพท์มือถือ
- สิ่งสุดท้ายที่เด็กไทยร้อยละ  35 ทำก่อนนอนคือการเล่น Facebook และ LINE
- เด็กไทยมีตัวเลขการใช้โทรศัพท์มือถือสูงขึ้น 2-3 เท่าในหนึ่งปี
- เด็กไทยร้อยละ 75.7 เล่น Social Network บ่อยจนไปถึงประจำ
- เด็กนักเรียนหญิงเล่น Social Network มากกว่านักเรียนชาย
- เด็กไทยร้อยละ 20.3 มีการใช้มือถือระหว่างคาบเรียนบ่อยถึงประจำ
- เด็กไทยร้อยละ 42.5 รู้สึกทนไม่ได้ถ้าอยู่คนเดียวโดยไม่มีโทรศัพท์
- เด็กไทยร้อยละ 28.7 ระบุว่าถูกคุกคามทางเพศจากเพื่อนใหม่ที่รู้จักกันบน Social Media
นอกจากนี้ผลวิจัยจากบริษัทมือถือแห่งหนึ่งยังชี้ให้เห็นว่า วัยรุ่นไทยมีมือถือและใช้มือถืออันดับหนึ่งของเอเชีย ทั้งทำสถิติพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถืออันดับหนึ่ง แถมวัยรุ่นไทยมีเพื่อนในเครือข่ายสังคมออนไลน์อันดับหนึ่ง สถิติการมีคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะของเด็กไทยยังสูงที่สุดในเอเชียอีกด้วย ร้อยละ 23 ของวัยรุ่นไทยบอกอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีมือถือ =_=!
สถิตินี้กำลังบอกอะไรกับเราอยู่? กำลังบอกว่าลูกหลานของเรามีเพื่อนเป็น “โทรศัพท์มือถือ” กันอยู่ใช่หรือไม่? หรือกำลังบอกไปถึงสาเหตุของอะไรบางอย่างที่เรากำลังค้นหาเหตุผล เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กไทย ที่ส่งผลให้ปัจจุบันนักบำบัดและจิตแพทย์เด็กต้องมาทำหน้าที่ในการแก้ปัญหาให้กับเด็กที่เกิดมามี “ภาวะปกติ” มากกว่าเด็กที่มีภาวะพิเศษแบบต่าง ๆ กันอยู่ค่ะ

เปลี่ยนผู้ร้าย IT ให้เป็นพระเอกตัวจริง

กล้ามเนื้อมือ เป็นกล้ามเนื้อสำคัญที่ในการพัฒนาสมองของลูกค่ะ เพราะนิ้วมือแต่ละนิ้วของลูกมีความสัมพันธ์กับสมองในแต่ละส่วนและการพัฒนาด้านต่าง
- นิ้วโป้ง สัมพันธ์กับสมองกลีบด้านหน้าซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านจิตใจ
- นิ้วชี้ สัมพันธ์กับสมองกลีบด้านหลังซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านความคิด
- นิ้วกลาง สัมพันธ์กับสมองกลีบข้างขม่อมซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกาย
- นิ้วนาง สัมพันธ์กับสมองกลีบขมับซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการฟัง
- นิ้วก้อย สัมพันธ์กับสมองกลีบท้ายทอยซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการมอง

นักการศึกษาหลายท่านจึงมุ่งเน้นการพัฒนาเด็ก ๆ ด้วยการเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำให้มากที่สุดเพราะนอกจากจะได้ ฝึกกำลังของกล้ามเนื้อมือแล้ว ยังเป็นการส่งสัญญานไปพัฒนาสมองส่วนต่าง ๆ ของเด็กได้อีกด้วย ความลับของสมองอีกข้อหนึ่ง คือการปฏิวัติตนเองแบบอัตโนมัติทุก ๆ 7 ปี ไปสู่การพัฒนาในขั้นที่สูงขึ้น เด็กหลายคนที่ไม่ได้รับการฝึกฝนทักษะใดใดมาก็อาจจะสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ แต่ไม่ได้ไปถึงขั้นสูงสุดของศักยภาพสมอง เพราะในช่วงสำคัญ 0-7 ปี มีโอกาสในการได้ใช้นิ้วมือทั้ง 5 เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสื่อกระตุ้นประสาทสัมผัส อาทิ ทราย แป้งปั้น น้ำ ฯลฯ น้อยกว่าเด็กคนอื่น ๆ เมื่อกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสนี้มีข้อมูลที่น้อย การนำความจำเดิมที่เป็นประโยชน์ตอนที่สมองปฏิวัติตนเองก็เลยไปไม่ถึงจุดสูง สุด เมื่อเด็กโตขึ้นจนเลยวัยสำคัญ ปัญหาของการใช้ “นิ้วมือ” ที่น้อยก็จะไปส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กไทย ดังที่เห็นในงานวิจัยค่ะ
แล้วเกี่ยวอย่างไรกับการเขียน? ปัญหาเรื่องลายมือ ปัญหาเรื่องการเขียนกลับด้าน ปัญหาเรื่องการมีความพยายามต่ำ ฯลฯ เป็นปัญหาที่มีจุดเริ่มต้นมาจากวิถีชีวิตในปัจจุบันทั้งสิ้นค่ะ การออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะช่วยให้เราซึ่งเป็นแม่บ้านในยุคใหม่ สามารถเลี้ยงลูกได้อย่างสะดวกสบายขึ้น กลายมาเป็นตัวขวางการพัฒนาการของข้อมือของเด็กในช่วงที่ถึงวัยต้องจับปากกา ดินสอ ก็เพราะว่า “ที่พยุงเด็กฝึกเดิน” ไปทำให้โอกาสในการคลานของเด็ก ๆ “ลดลง” แบบที่เราก็ไม่เคยคาดคิดค่ะ เมื่อข้อต่อบริเวณข้อมือไม่ได้ฝึกรับน้ำหนักมาตั้งแต่วัยหัดคลาน พอถึงวัยหัดเขียนคุณพ่อคุณแม่หรือแม่กระทั่งคุณครู ต้องมาเห็นบรรยากาศการวาดรูปด้วยน้ำตาของลูกแทนที่จะเป็นการปลดปล่อย จินตนาการ นักบำบัดจึงเข้ามามีบทบาทในการฝึกคลาน หรือฝึกทำท่าไถนา (ให้เด็กใช้มือตั้งศอกตรงวางลงบนพื้นและผู้ฝึกยกขาให้เด็กเดินไปข้างหน้า เหมือนไถนา) นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่เครื่องอำนวยความสะดวกเข้ามาทำหน้าที่จนทำให้เราเสียโอกาสในการพัฒนาลูก แบบที่หลายครอบครัวคงคิดไม่ถึงนะคะ
ทำให้ลูกมีนิสัยรักการอ่าน
ทั้งนี้เมื่อรวมเข้ากับวิธีการใช้ชีวิตของคุณพ่อคุณแม่ Generation Y อย่างพวกเราแล้วละก็ ยังมีอีกหลายข้อ ที่ความสะดวกรวดเร็วกำลังกลับมาเป็นปัญหาที่ต้องมาแก้เมื่อลูกถึงวัยที่ควร จะพัฒนาได้ค่ะ จากปัญหาการไม่อยากขีด ๆ เขียน ๆ มาประกอบกับการแทนที่ของเครื่องมือลาก ๆ จิ้ม ๆ ที่ง่ายสำหรับการใช้งาน เเถมยังสนุกเพราะเป็นการกระตุ้นสมองด้านเดียวคือ ด้านความคิด (ส่วนใหญ่ใช้นิ้วชี้) เด็ก ๆ จึงสนุกคิด แต่ไม่สนุกทำ ความสามารถในการคิดฝันจิตนาการ project ต่าง ๆ สูงลิ่ว แต่ความสามารถในการลงมือทำต่ำแบบสวนทางกันค่ะ จึงไม่น่าแปลกใจที่วัยประถมศึกษา จะเป็นวัยที่พบว่าเด็กมีปัญหาในการเรียนสูงมากขึ้น ๆ เมื่อถึงวัยมัธยมก็ได้กลายไปเป็นเด็กหลังห้องให้คุณครูและผู้ปกครองตามแก้ กันอย่างน่าปวดหัวค่ะ

















23 มี.ค. 2557

เริ่มเรียนภาษาอังกฤษในวัยอนุบาล ดีอย่างไรนะ?

เริ่มเรียนภาษาอังกฤษในวัยอนุบาล   ดีอย่างไร

1. เด็กรู้จักภาษาใหม่อีกหนึ่งภาษา ทำให้มีมุมมองของโลกกว้างขึ้น
2. เด็กมีโอกาสคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษ สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในชีวิตประจำวันได้บ้าง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับต่อไป
3. ถ้าฝึกทักษะภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็ก จะทำให้เด็กมีความมั่นใจ สามารถใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว และรวดเร็วเมื่อโตขึ้น
4. ตรงกับธรรมชาติของเด็กวัยนี้ คือ สนใจสิ่งใหม่ๆ รอบตัว ช่างพูด เรียนรู้ได้เร็ว และมีความสุขในการเรียนรู้

ปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ มีอะไรบ้าง
1. เด็กสนุกกับการเรียน เช่น คุณครูใช้สื่อการสอนหลายชนิด จัดรูปแบบกิจกรรมให้เด็กมีทางเลือกที่หลากหลายตามแนวคิดของทฤษฏีพหุปัญญา เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการสอน กับครู กับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนตลอดเวลา ไม่มีการท่องศัพท์ ไม่มีความเครียด มีแต่ความสนุกสนาน
2. เด็กมีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ ถ้าเด็กเรียนอย่างสนุกสนาน ชอบกิจกรรม อยากไปโรงเรียน นั่นหมายความว่า เด็กเริ่มมีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ
"เมื่อเด็กเรียนสนุก ใจชอบที่จะเรียนแล้ว อะไรๆ ก็ง่ายไปหมด"

ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กชั้นอนุบาล

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาล อายุระหว่าง 3 -6 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปูพื้นฐานภาษาอังกฤษ ทั้งในด้านการเรียนรู้ การใช้ภาษา และการสื่อสารผ่านการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับวัยของผู้ เรียน

สิ่งที่นักเรียนจะได้รับจากการเรียนภาษาอังกฤษที่ศูนย์เสริมภาษา Art&Crafts

  • เรียนรู้การอ่าน เขียน และการออกเสียงโดยผ่านการสอนแบบ Phonics
  • ฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษอย่างสนุกสนานโดยผ่านกิจกรรม เช่น การเล่นเกมส์ การร้องเพลง และการทายคำศัพท์
  • พัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษผ่านการฟังนิทานหรือเรื่องเล่า
  • บรรยากาศในห้องเรียนที่สนุกสนานและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้
รายละเอียดของคอร์ส
ในคอร์สนี้ เด็กๆ จะได้เรียนภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมหลากหลายโดยใช้ระบบ Phonics
Phonics คือ วิธีการสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆ สามารถออกเสียง อ่านออกและเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสนุกสนานกับการเรียนไปในขณะเดียว กัน ระบบการสอนนี้จะเน้นให้เด็กๆ เรียนรู้เสียงของตัวอักษรผ่านการแสดงท่าทางพร้อมสื่อหลากหลายเพื่อกระตุ้น การเรียนรู้ของสมองอย่างเป็นระบบ ผลลัพธ์ที่ได้คือเด็กๆ จะสามารถอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ยังเล็ก
เด็กๆ จะได้เรียนรู้เสียงของตัวอักษรต่างๆ ซึ่งสามารถเปล่งเสียงออกมาได้แตกต่างกัน 42 เสียง โดยครูจะสอนให้เด็กรู้จักเสียงนั้นๆ จากการแสดงท่าทางประกอบเรื่องราวหรือนิทานที่น่าสนใจ ซึ่งการเล่าเรื่องและการแสดงท่าทางประกอบของคุณครูนั้นจะทำให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนและสามารถจดจำเสียงของตัวอักษรต่างๆ ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น  นอกจากนี้เด็กๆ ยังจะได้เรียนรู้การผสมเสียงเพื่อสร้างเป็นคำต่างๆ มากมาย ซึ่งท้ายที่สุดแล้วเด็กๆ ก็จะสามารถพัฒนาทักษะในการอ่านและเขียนได้ในระยะเวลาอันสั้น

 ระยะเวลาการเรียน
     -  เสาร์และอาทิตย์ 
     -  เวลา  9.00  -  10.30  น.
     -  รวม  12   ชั่วโมง   /  เดือน

22 มี.ค. 2557

เรียนภาษาอังกฤษได้ไม่ยาก

ปัญหาของคนไทยส่วนมากที่เมื่อเรียนภาษาอังกฤษไปแล้วเมื่อไม่นำมาใช้ก็จะ ลืม และไม่มีการเรียนแบบต่อเนื่อง หรือสับสนในเรื่องของความหมายของคำศัพท์ หรือสำเนียงการออกเสียง นั้นเป็นเพราะว่าครูผู้สอนแต่ละท่านก็จะมีสำเนียงการออกเสียงที่แตกต่างกัน ออกไป แต่สำหรับการสอนของเรานั้น ผู้เรียนจะได้ฟังเสียงที่ถูกต้อง ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการออกเสียงและการพูดมากขึ้น พร้อมทั้งยังมีการอธิบายคำศัพท์แต่ละคำอย่างถูกต้องชัดเจน ทำให้ผู้เรียนจดจำคำศัพท์ในความหมายที่ถูกต้อง อีกทั้งยังให้มีการอ่านคำๆนั้น หลายๆครั้งจนกว่าผู้อ่านนันจะออกเสียงได้ถูกต้องทำให้ผู้เรียนเองนั้นเกิด ความชิน และความเข้าใจมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ผู้เรียนมั่นใจได้ว่าการสอนภาษาอังกฤษของเรา จะทำให้ผู้เรียนได้รับผลประโยชน์อย่างสูงสุด เกิดการพัฒนาโปรแกรมทำให้เกิดการฝึกโดยเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ และช่วยให้สมองของเราจดจำได้ง่ายขึ้น และเมื่อเรียนจบไปแล้ว สิ่งที่เรียนก็ยังจะคงอยู่กะผู้เรียนตลอดไป

วิธีเรียนรู้ภาษาที่ดีต้องเป็นไปตามหลักการตามธรรมชาติและเหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ของสมอง ดังนี้ Listening -> Phonics -> Decoding -> Fluency -> Vocabulary -> Comprehension -> Critical Thinking แต่น่าเสียดายที่โรงเรียนส่วนใหญ่ในสมัยนี้ไม่ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือ รูปแบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ภาษาตามหลักธรรมชาติ  ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาทักษะการคิดและการรับรู้พื้นฐานที่ช่วยให้สมองสามารถ เรียนรู้ภาษาอังกฤษได้รวดเร็วขึ้น นอกจากความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ดีขึ้นแล้ว ผู้เรียนจะมีความจำ สมาธิ ความรวดเร็วในการประมวลผลและทักษะการเรียงลำดับก่อนหลังที่ดีขึ้นอย่างเห็น ได้ชัด

ทำอย่างไร ถึงจะสามารถเรียนภาษาอังกฤษและนำมาใช้ได้จริง? 

จากการวิจัยพบว่าการฝึกในสถาบันหรือโรงเรียนทั่วไปเป็นวิธีการฝึกและสอน แบบดั้งเดิม โดยบางคนนั้นต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะสามารถพูดฟังอ่านเขียนได้คล่อง และไม่ใช่ว่าทุกคนที่จะมีมีพัฒนาการที่ดีเหมือนกันหรือเท่ากัน  สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้การเรียนภาษาอังกฤษได้ผลเร็วคือการเรียนภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง
จากการวิจัยด้านกลไกการทำงานของสมองกว่า 30ปี การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เร็วที่สุดหากฝึกอย่างถูกวิธี ดังนี้
•    ต้องเรียนทักษะตามลำดับการรับรู้ข้อมูลโดยธรรมชาติของสมอง
•    สิ่งแวดล้อมในการฝึกต้องเอื้ออำนวย
•    ความถี่ในการฝึกเพียงพอและสม่ำเสมอ
•    ความยากง่ายของเนื้อหาต้องสอดคล้องกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคน
•    การวิเคราะห์ภาษาต้องใช้สมองหลายๆส่วนทำงานพร้อมๆกัน
•    การโต้ตอบทางบวกหรือรางวัลเพื่อให้มีความสนุกสนานในการเรียนและไม่ทำให้เบื่อ

สำหรับทุกท่านที่กำลังมองหาที่เรียนพิเศษภาษาอังกฤษตอน นี้ อย่าช้าที่จะมาร่วมคอร์สกับเรา พร้อมหลักสูตรการเรียนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและคุณจะเห็นถึงพัฒนาการได้ ชัดเพียงแค่ไม่กี่สัปดาห์ หากสนใจร่วมคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 080-3959847,0831747574

ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว.........ด้วยโฟนิกส์


ภาษาอังกฤษ เป็น ภาษาสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเกือบทั่วโลก ในยุคปัจจุบันมีข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ต่าง ๆ เกิดขึ้นจำนวนมากมายมหาศาล ในการเข้าถึงแหล่งความรู้ของโลกได้นั้นจำเป็นต้องรู้ภาษาอังกฤษ ผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี มักเป็นผู้ที่มีโอกาสที่จะได้เปรียบผู้อื่น ทั้งด้านการศึกษา ตำแหน่งการงาน และรายได้ที่สูงกว่า
 
คุณพ่อคุณแม่อาจเคยเห็นคำว่า Phonics ตามโรงเรียนและสถาบันสอนภาษาบ่อยครั้ง ทราบหรือไม่ว่า Phonics นั้นไม่ใช่การสอนออกเสียงภาษาอังกฤษให้เหมือนเจ้าของภาษาอย่างที่คุณพ่อคุณ แม่บางท่านเข้าใจนะคะ แต่เป็นระบบการสอนอ่าน-เขียนให้เด็กวัยเริ่มเข้าโรงเรียน ระบบ Phonics ใช้หลักการผสมเสียง (Blending) ของตัวอักษรแต่ละตัวเพื่ออ่านเป็น พยางค์ คำ และประโยคตามลำดับ การสอนระบบ Phonics นี้เน้นการสอนให้เด็กเรียนตัว อักษร (รูปอักษร "s") ควบคู่ไปกับเสียง [s] มากกว่าการสอนชื่อตัวอักษร ("ตัวเอส") เมื่อเด็กรู้ว่า ตัวอักษรไหนมีเสียงอะไร เมื่อเห็นตัวอักษรนั้น แม้ในคำที่ไม่รู้จัก ก็จะสามารถ "ถอดรหัสเสียง" และผสมเสียงอ่านเป็นคำได้
"เรียนภาษาอังกฤษแนวใหม่ หมดยุคท่องจำแข่งนำเข้าเทคนิคใหม่สอนเด็กเล็ก"


การ สอนการออกเสียง (โฟนิคส์) ที่เน้นความสนุกสนาน ใช้ประสาทสัมผัสหลายด้าน และให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยสอนการออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษกว่า 40 ตัวอักษรแก่เด็กอย่างรวดเร็ว และส่งเสริมให้เด็กๆ นำความรู้เรื่องการออกเสียงมาใช้ในการอ่านและเขียนคำต่างๆ ได้ตั้งแต่อายุยังน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ปัจจุบัน พ่อแม่ผู้ปกครองนิยมให้ลูกเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ยังเล็ก เนื่องจากต้องการให้ลูกได้ซึมซับสำเนียงที่เป็นต้นฉบับเจ้าของภาษาจริงๆ การจะเลือกสถานที่เรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญ  เรียนภาษาอังกฤษแนวใหม่ หมดยุคท่องจำ แข่งนำเข้าเทคนิคใหม่สอนเด็กเล็ก  ดังนั้น การสอนการออกเสียง (โฟนิคส์) ที่เน้นความสนุกสนาน ใช้ประสาทสัมผัสหลายด้าน และให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยสอนการออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษกว่า 40 ตัวอักษรแก่เด็กอย่างรวดเร็ว และส่งเสริมให้เด็กๆ นำความรู้เรื่องการออกเสียงมาใช้ในการอ่านและเขียนคำต่างๆได้ตั้งแต่อายุยัง น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซู ลอยด์ และ ซารา เวิร์นแฮม ครูชาวอังกฤษ อธิบายว่า การเรียนการสอนจะไม่เน้นท่องจำตัวอักษร ABC แต่จะเป็นการเรียนรู้การออกเสียงผ่านเรื่องราว เน้นเรื่องการผสมคำเพื่อให้เด็กรู้สึกเป็นเจ้าของคำศัพท์นั้นๆ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักตัวอักษรและคำศัพย์โดยไม่ต้องท่องจำ แม้แต่เด็กที่ไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษมาก่อนก็สามารถเรียนได้ นอกจากนี้ยังช่วยในการเปล่งเสียง ซึ่งจะตัดปัญหาสำเนียงที่ไม่ถูกต้อง ขณะที่เด็กที่ผ่านการเรียนแบบท่องจำมาตลอด จะรู้จักเฉพาะคำศัพย์ที่ท่องมาเท่านั้น
ทั้ง นี้ การเรียนการสอนเสียงต่างๆ จะเรียงตามลำดับที่กำหนดไว้เป็นพิเศษ ไม่ใช่ตามลำดับตัวอักษร ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถเริ่มสร้างคำได้ตั้งแต่อายุยังน้อยที่สุดเท่าที่จะ เป็นไปได้ โดยแต่ละเสียงมีการใช้ท่าทาง เรื่องราว และรูปภาพประกอบ ซึ่งจะดึงดูดความสนใจของเด็กและให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ซู ลอยด์ และ ซารา เวิร์นแฮม บอกอีกว่า โปรแกรมจอลลี โฟนิคส์ช่วยสร้างเสริมทักษะและกลวิธีในการเรียนรู้คำใหม่ๆ โดยจะส่งเสริมให้เด็กๆเป็นนักอ่านและนักเขียนด้วยตัวเองตั้งแต่เริ่มแรก และเลี่ยงวิธีการเรียนรู้แบบท่องจำ นอกจากการเพิ่มช่วงอายุการอ่านและการออกเสียงแล้วระบบ จอลลี โฟนิคส์ ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เด็ก ซึ่งในเวลาอันสั้น เด็กจะสามารถอ่านและเขียนหนังสือได้หลากหลายประเภท และเนื่องจากการสอนทักษะการออกเสียงขั้นพื้นฐานที่จำเป็นเหล่านี้กระทำอย่าง รวดเร็ว ทำให้เด็กๆ สามารถพัฒนาไปสู่ขั้นตอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์ได้เร็วขึ้น และทำให้สอนกลวิธีการอ่านเอาเรื่องในขั้นสูงได้เร็วขึ้นด้วย
 
ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ