4 เม.ย. 2557

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ


 


ในยุคที่ภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาท กับการดำเนินชีวิตของคนไทยมากขึ้น เชื่อว่า พ่อแม่ทุกๆ คน อยากให้ลูกใช้ภาษาอังกฤษได้เป็น และใช้ได้ดี แต่การจะพัฒนาทักษะทางภาษาให้ลูกอย่างได้ผลนั้น หลายๆ ท่านอาจมีคำถามว่า แล้วจะให้ลูกเริ่มเรียนเมื่อไรถึงจะใช้ได้ดี และใช้ได้เป็น วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จากสถาบันสอนภาษาพิงกุมาฝากเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ได้อ่านกัน
              “เด็กวัยนี้เรียนรู้ด้วยวิธี การซึมซับจากตัวแบบ ดังนั้น ถ้าครูพูดภาษาอังกฤษกับเด็กในชั้นเรียนสม่ำเสมอ หรือคุณพ่อคุณแม่พูดภาษาอังกฤษที่บ้านเป็นประจำ เด็กก็จะเรียนรู้และมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีได้ไม่ยาก”
              “เนื่องจากเรากำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ่อแม่ผู้ปกครองควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษตามวัยที่เหมาะสม และตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน แต่ไม่ควรคาดหวังการเรียนรู้ของเด็กสูงเกินไป เพียงแต่ให้เด็กได้ทำความรู้จักกับภาษา เกิดความชอบ ความคุ้นเคย เรียนอย่างสนุกสนาน และอยากไปโรงเรียน เท่านี้ก็เพียงพอสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว”
ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล  ตั้งแต่เอบีซี มีแบบฝึกคัดพยัญชนะ A-Z เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อักษรภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำศัพท์ที่ควรเรียนรู้เป็นเบื้องต้น การเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล ควรเน้นที่คำศัพท์พื้นฐาน และประโยคง่ายๆ ก็พอครับ สังเกตจากการเรียนรู้ภาษาของเด็กๆจะเริ่มจากคำศัพท์ก่อนเป็นเบื้องต้น ตามด้วยวลีง่ายๆ และประโยคสมบูรณ์ท้ายที่สุด
การส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษา จากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อน เพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐานทางภาษา กล่าวคือ เมื่อฟังแล้วก็ย่อมต้องพูดสนทนาโต้ตอบได้ การเรียนภาษาของเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ หรือตามหลักไวยากรณ์ แต่จะเป็นการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือเป็นการสอนแบบธรรมชาติ
ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา
1. ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Austistic Theory) ทฤษฎีนี้ถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็กเกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องจากความพึงพอใจที่ ได้กระทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mower) เชื่อว่า ความสามารถในการฟัง และความเพลิดเพลินกับการได้ยินเสียงของผู้อื่นและตนเองเป็นสิ่งสำคัญต่อ พัฒนาการทางภาษา
2. ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory) เลวิส (Lawis) ได้ศึกษาและ
เชื่อ ว่า พัฒนาการทางภาษานั้นเกิดจากการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดจากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วงความสนใจของเด็กนั้นสั้นมากเพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้า ซ้ำ ๆ กัน การศึกษากระบวนการในการเลียนแบบภาษาพูดของเด็กพบว่า จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเสียงของเด็กในระยะเล่นเสียงหรือใน ระยะที่เด็กกำลังเรียนรู้การออกเสียง
 3.  ทฤษฎีเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลักทฤษฎีการ เรียนรู้ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลต์ (Rhiengold) และคณะได้ศึกษาพบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อได้รางวัล หรือได้รับการเสริมแรง
                         4.  ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception) ลิเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วย การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง และพูดซ้ำกับตัวเอง หรือหัดเปล่งเสียง
โดยอาศัยการอ่านริมฝีปาก แล้วจึงเรียนรู้คำ
                         5.  ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง (Babble Buck) ซึ่งธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นผู้คิดโดยอธิบายว่า เมื่อเด็กกำลังเล่นเสียงอยู่นั้น เผอิญมีเสียงบางเสียงไปคล้ายกับเสียงที่มีความหมาย ในภาษาพูดของพ่อแม่ พ่อแม่จึงให้การเสริมแรงทันที ด้วยวิธีนี้จึงทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษา
                         6.  ทฤษฎีชีววิทยา (Biological Theory) เล็นเบิร์ก (Lenneberg) เชื่อว่า พัฒนาการทางภาษามีพื้นฐานทางชีววิทยาเป็นสำคัญ กระบวนการที่คนพูดได้ขึ้นอยู่กับอวัยวะในการเปล่งเสียง เด็กจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ และพูดได้ตามลำดับ
                         7.  ทฤษฎีการให้รางวัลของพ่อแม่ (Mother Reward Theory) ดอลลาร์ด (Dollard) และมิลเลอร์ (Miller) เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ โดยย้ำเกี่ยวกับบทบาทของแม่ในการพัฒนาภาษาของเด็กว่า ภาษาที่แม่ใช้ในการเลี้ยงดูเพื่อเสนอความต้องการของลูกนั้น เป็นอิทธิพลที่ทำให้เกิดภาษาพูดแก่ลูก

เด็กสนุกกับการเรียนรู้ และพัฒนาความฉลาดที่หลากหลายตามแนวคิดของทฤษฎีพหุปัญญา เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการสอน กับครู กับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนตลอดเวลา ไม่มีการท่องศัพท์ ไม่มีความเครียด มีแต่ความสนุกสนาน