ริเริ่มสร้างสรรค์กันอย่างไร
“มีคนค้นพบว่าเด็กอายุ 3-5 ขวบ มีความคิดสร้างสรรค์สูงที่สุด! และยังเป็นช่วงที่เด็กจะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้สูงกว่าวัยอื่นด้วย”
จาก
ข้อความดังกล่าวทำให้หลายคนพยายามส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กวัย
นี้ แต่ผลที่ได้รับกลับไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าที่ควร ทราบมั้ยคะว่าเป็นเพราะอะไร...ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะผู้ใหญ่บางคนยัง
ไม่เข้าใจการทำงานของสมองของเด็กวัยนี้นั่นเอง
ความคิดสร้างสรรค์คืออะไรและสำคัญอย่างไร
ความ
คิดสร้างสรรค์คือการแสดงออกที่เกิดจากการนำศักยภาพสมองที่มีอยู่อย่างมหาศาล
มาใช้ในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เป็นประโชน์อย่างเต็มที่ เช่น
ศิลปะ วรรณกรรม ดนตรี วิทยาศาสตร์
การแพทย์และเทคโนโลยีล้วนเป็นฝีมือสร้างสรรค์ของคนเราทั้งนั้น
ความสร้างสรรค์จึงมีค่าต่อชีวิต และเป็นส่วนสำคัญของความฉลาด
แล้วเราจะส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้อย่างไร
ก่อน
อื่นทางบ้านและทางโรงเรียนควรทราบและเข้าใจธรรมชาติของความคิดสร้างสรรค์
ก่อน ว่าความจริงแล้วความคิดสร้างสรรค์เป็นเหมือนต้นไม้
ไม่มีใครสร้างสรรค์ต้นไม้หรือผลไม้ได้แต่สิ่งที่ทำได้คือช่วยหาสภาพแวดล้อม
ที่เหมาะสมให้กับต้นไม้ เมื่อถึงเวลามันก็จะออกดอกออกผลเอง
ในทำนองเดียวกันไม่มีใครสอนหรือสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้
แต่เราสามารถจัดสภาพแวดล้อมที่ดี ให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายสบายใจ สนุกสนาน
เพียงเท่านี้สมองและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กก็จะได้รับการพัฒนาอย่างเต็ม
ที่แล้ว
จัด
ให้เด็กได้เล่นสรรค์สร้าง ไม่ว่าจะเล่นบล็อก เล่นน้ำ เล่นทราย
การให้เด็กได้เล่นอิสระ ได้คิดได้เลือก ได้ลงมือทำสิ่งแปลกใหม่ด้วยตนเอง
ยิ่งได้เล่นซ้ำบ่อยแค่ไหน
เด็กก็จะยิ่งพบความแปลกใหม่พบวิธีการเล่นมากมายหลายแบบ
จนเกิดเป็นวงจรแห่งการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
· ให้เด็กทำศิลปะสร้างสรรค์ เตรียมกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ให้เด็ก ๆ วันละ 5 –
6 กิจกรรม ให้เด็กได้เลือกทำ บางวันก็เพิ่มสื่อแปลก ๆ เช่น เชือก
หรือกิ่งไม้เข้ามาให้ลองคิดประดิษฐ์ แล้วนำมาให้เพื่อน ๆ ดู
ถึงบางอย่างจะไม่ออกมาเป็นรูปร่างชัดเจน
แต่พวกเขาก็ภูมิใจที่ได้คิดและทำเองได้
ซึ่งคุณครูก็ควรเข้าใจในพัฒนาการด้านการวาดของเด็กด้วย
· ลองปล่อยให้เด็กได้ได้เคลื่อนไหวสร้างสรรค์เอง โดยคุณครูเป็นผู้ตั้งคำถาม เช่น “สมมติว่าหนูเป็นนก หนูจะท่องเที่ยวไปอย่างไรเอ่ย” บางคนอาจทำท่าบิน กระโดด หรือบินปีกเดียวเหมือนนกปีกหัก
· ให้
เด็กฝึกเขียนตามธรรมชาติ อย่าให้ความสำคัญกับผลงานของเด็ก
แต่ให้โอกาสเด็กทำกิจกรรมสร้างสรรค์และเขียนอย่างอิสระอย่างสม่ำเสมอ
ทั้งนี้คุณครูต้องเป็นแบบอย่างในการจับดินสอ
และเขียนลีลามือที่ถูกต้องให้เด็กเห็นเสมอ
· ตั้งคำถามที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ควรเป็นคำถามที่เปิดกว้างไม่มีคำตอบตายตัว เช่น “หนูชอบอะไรใรนิทานเรื่องนี้”
เพียง
แค่เราเข้าใจสมองและพัฒนาการของเด็กในวัยนี้
เราก็จะส่งเสริมให้เขามีความคิดสร้างสรรค์ได้ไม่ยากเลย แถมกิจกรรมง่าย ๆ
เหล่านี้ยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่น ๆ อีกด้วยค่ะ
บทความดีดี จาก Plan for kids
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น